วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พระสมเด็จ พระธาตุพนม


     พระสมเด็จ พระธาตุพนม เป็นพระสมเด็จที่สร้างบรรจุไว้ในองค์พระธาตุพนม(จำลอง) วัดบวรสถานสุทธาวาส เขตพระราชวังสถานมงคล หรือวังหน้า   
     ส่วนหนึ่งของบทความที่กล่าวถึงความเป็นมาของวัดบวรสถานสุทธาวาส... (...สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างในวัดพระแก้ววังหน้านี้ สร้างโดยปราณีตบรรจงหลายอย่าง เช่น โปรดฯให้เสาะหาพระพุทธรูปที่เป็นของงามของแปลก เครื่องศิลาโบราณมาตกแต่ง พระเจดีย์ก็ถ่ายแบบอย่างพระเจดีย์สำคัญ ๆ เช่น พระธาตุพนม มาสร้างไว้หลายองค์....จากบทความ วัดพระแก้ววังหน้า /oknation)



      พระสมเด็จ พระธาตุพนม จะมีความเป็นเอกลักษณ์ในเนื้อหามวลสาร ที่มีเม็ดผงสีเม็ดเล็กๆ ผสมอยู่(มีอยู่ในพระวังหน้าบางกลุ่มด้วย) พลอยดิบบด เม็ดลูกปัดทวาราวดี หินแร่ทอง เม็ดพระธาตุ ซึ่งทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าในองค์หนึ่งจะมีส่วนผสมอย่างหนึ่ง สองอย่าง หรือทั้งหมดทุกอย่าง ในส่วนของพิมพ์ก็มีมากมายหลายพิมพ์ ทั้งพิมพ์แบบวัดระฆัง พิมพ์รูปสมเด็จ ฯลฯ จัดได้ว่าเป็นพระชุดพิเศษที่สร้างสรรและสรรหามวลสารมาบรรจุอยู่ในองค์พระได้อย่างปราณีตบรรจง...







หนังสือหรือเอกสารอันเกี่ยวกับความเป็นมา ที่พอจะนำมาเป็นข้อมูลประกอบ,,,,







วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วัดพระแก้ววังหน้า หรือ วัดบวรสถานสุทธาวาส

วัดพระแก้ววังหน้า วัดในวังที่ถูกลืม
     ประวัติความเป็นมา วัดพระแก้ววังหน้า หรือวัดบวรสถานสุทธาวาส วัดในวังที่ถูกลืม โดย สายลมที่ผ่านมา จากบล็อค oknation
เชื่อ ได้ว่าหลายท่านที่เคยผ่านไปแถว ๆ บริเวณย่านใต้สะพานพระปิ่นเกล้า แถว ๆ สถาบันบัณฑิตพัฒน์ศิลป์ หรือ วิทยาลัยนาฏศิลป์เดิม หลาย ๆ คนคงสงสัยว่า สิ่งก่อสร้างทรงไทย คล้ายโบสถ์ใหญ่โตที่ตั้งอยู่กลางวิทยาลัยนั่นคืออะไร
จะ ว่าเป็นตึกฉากสำหรับการละคร ก็ดูจะยิ่งใหญ่อลังการณ์เกินไปนัก จะว่าเป็นวัด เป็นโบสถ์เป็นวิหาร ก็ไม่ยักกะเห็นพระแม้นแต่สักองค์ แถมยังมาตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ท่ามกลางตึกสมัยใหญ่น้อยใหญ่ของวิทยาลัย นาฏศิลป์เสียอีก
ซึ่ง สิ่งที่เขียนไปข้างต้นก็ไม่ได้มาจากความคิดของใคร เป็นความคิดของผู้เขียนนี่เอง ด้วยว่าเห็นมาแต่เด็กจนโต สอบถามเอากลับใคร ๆ ก็ไม่ยักกะมีคำตอบที่เหมาะสม หรือสมควร ยามเมื่อได้เติบใหญ่ ก็เก็บเกี่ยวเอาความสงสัยนี้ไว้กับตัว
ไอ้ครั้นจะเดินดุ่ม ๆ เข้าไปดูเข้าไปถาม สถานที่แห่งนี้ก็จัดเป็นสถานที่ราชการที่มียามรักษาการณ์เฝ้าซะดูแข็งขัน ทำให้ยังหาเหตุแห่งการเข้าชมดี ๆ ไม่ได้สักครั้งเดียว จวบจนวันนี้ วันที่นั่งรถผ่านเพื่อเดินทางไปชมพระเมรุของสมเด็จ ภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ และเหลือบไปเห็นป้ายเชิญชวนให้เข้าชมนิทรรศการ
จำ ไม่ได้แล้วว่าเป็นนิทรรศการใด แต่ด้วยความที่ก็ไม่ได้อยากดูนิทรรศการที่ว่า แต่มีเจตนาแอบแฝงอยากเข้าไปดู ไปชมอาคารทรงไทยหลังใหญ่แห่งนั้น จึงชักชวนกันสวมรอยประหนึ่งว่าจะไปชมนิทรรศกาล ตอนสี่โมงเย็น
จากการเดินชม การพูดคุยแลกเปลียน และการหาข้อมูลภายหลังจากที่ได้กลับมาจากการเยี่ยมชมแล้วจึงทำให้รู้ว่า "อาคารปูนทรงไทยหลังใหญ่กลางวิทยาลัยนาฏศิลป์แห่งนั้น" หาใช่อื่นใด แท้จริงแล้วก็คือ "วัด" แต่ที่ไม่มีพระสงฆ์องคเจ้าอยู่โยงเฝ้าวัด นั่นก็เพราะวัดแห่งนี้ จัดเป็น "วัดในพระบรมมหาราชวัง" จึงไม่มีพระจำวัด
วัดแห่งนี้ก็คือ "วัดบวรสถานสุทธาวาส" หรือ "วัดพระแก้ววังหน้า" ที่ดูเหมือนจะถูกกลืนกินด้วยหน้าต่างแห่งกาลเวลา ทำให้ผู้คนต่างหลงลืมไปเสียจนเกือบหมดแล้ว เพราะไม่ค่อยมีคนสนใจ หรือรู้จักวัดแห่งนี้มากนัก
โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะคิดว่า "วัดที่อยู่ในวัง" มีเพียง "วัดพระศรีรัตนศาสดาราม" ในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น ส่วนวัดในวังหน้ากลับไม่ค่อยมีคนจะสนใจใคร่รู้ เพราะโดยสภาพแล้ว "วังหน้า" เองก็แทบจะไม่เหลือสภาพวังไว้ให้รู้จักกันสักเท่าไหร่แล้วในปัจจุบัน
อีกทั้ง วัดพระแก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถานสุทธาวาส ในปัจจุบันนั้น แทบจะมิได้ใช้ประโยชน์ในศาสนพิธีใด ๆ และวัดทั้งวัด ก็เหลือเพียงพระอุโบสถเพียงหลังเดียวนี้เท่านั้น อีกทั้งภูมิทัศน์ยังถูกล้อมรอบด้วยตึกของวิทยาลัยนาฏศิลป์เสียอีกด้วย จึงทำให้หมดความน่าสนใจลงไปทุกที
แท้จริงแล้ว วัดพระแก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถานสุทธาวาส แห่งนี้ มีความน่าสนใจทั้งในด้านสถาปัตย์กรรมและ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง จากพระราชนิพนธ์เรื่อง "ตำนานวังหน้า" ของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึง วังหน้า แห่งนี้ไว้ว่า แต่เดิมเรียกกัน อย่างเป็นทางการว่า "พระราชวังบวรสถานมงคล" แต่ชาวบ้านหรือคนทั่วไป มักเรียกกันว่า "วังหน้า" เพราะเป็นวังที่ประทับ ของ พระมหาอุปราชซึ่งเรียกกันว่า "ฝ่ายหน้า" เลยเรียกที่ประทับของพระมหาอุปราชว่า วังฝ่ายหน้าและวังหน้า
วังหน้า หรือพระราชวังบวรสถานมงคล ของกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เริ่มสร้างขึ้นพร้อมกับพระราชวังหลวง หรือพระบรมมหาราชวัง เมื่อปีขาล พ.ศ.๒๓๒๕ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเลือกเอาที่สองแปลง ของ กรุงเทพฯคือแปลงหนึ่งอยู่ระหว่างวัดโพธิ์กับวัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ)เป็นที่สร้างวังหลวง
ส่วน ที่อีกแปลงหนึ่งอยู่เหนือวัดสลักขึ้นไป จนถึงปากคลองคูเมืองด้านเหนือ (บริเวณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภุณฑ์สถานแห่งชาติ วิทยาลัยนาฏศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลป และโรงละครแห่งชาติ) เป็นที่สร้างพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เพื่อให้เป็น ที่ประทับของพระอนุชาธิราชคือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นพระมหาอุปราช
พระราชวัง หน้านี้เมื่อแรกสร้างก็เป็นเพียงเครื่องไม้มุงหลังคาจาก เพื่อให้ทันพิธีปราบดาภิเษก ซึ่งต่อมาภายหลังจึงได้ทำการปลูกสร้างอาคารถาวรวัตถุต่าง ๆ ขึ้นมา โดยเริ่มจากการสร้างปราสาทกลางสระ เหมือนอย่างพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่เกิดเหตุขบภอ้ายบัณฑิตสองคนเสียก่อนเลยไม่ได้สร้าง ต่อมาได้มีการสร้างพระราชมณเทียรเป็นที่ประทับ และสร้างพระวิมานสามหลังเรียงกันตามแบบอย่างของ กรุงศรีอยุธยาขึ้นแทน
ใน ร.ศ.๒๓๓๐ ได้มีการก่อสร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ (หรือพระที่นั่งพุทไธศวรรย์) หรือ หอพระวังหน้าขึ้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงใหม่ โดยให้มีการเขียนจิตรกรรมฝาผนังรูปเทพชุมนุม และเรื่องปฐมสมโพธิเป็นพุทธบูชา
สถาน ที่ต่าง ๆ ในพระราชวังบวรหรือวังหน้า นอกจากจะมีพระราชมณเฑียรแล้ว คงมีสิ่งอื่นเช่นเดียวกับวังหลวง คือ โรงช้าง โรงม้า ศาลาลูกขุน คลังเป็นต้น แต่เดิมนั้นบริเวณวังหน้ากว้างขวางมาก เฉพาะด้านทิศตะวันออกไปจดถนนราชดำเนิน ด้านเหนือจดคลองคูเมือง ด้านตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านใต้จดวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์

กล่าว กันว่าสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในวังหน้าในอดีตทำอย่างปราณีตบรรจง เพราะกรมพระราชวังบวรฯ ตั้งพระราชหฤทัยว่าถ้าได้ครอบครองราชสมบัติ จะประทับอยู่ที่วังหน้าตามแบบพระเจ้าบรมโกศไม่ไปประทับวังหลวง
อย่างไรก็ตามสิ่งก่อสร้างที่สร้างในครั้งรัชกาลที่ ๑ หรือ สมัยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทนั้น สร้างด้วยไม้จึงหักพังและรื้อถอนสร้างใหม่เสียเป็นส่วนมาก จนไม่เห็นเค้าโครงเดิมในปัจจุบัน นอกจากพระที่นั่งสุทธาสวรรย์หรือพระที่นั่งพุทไธศวรรย์เท่านั้น ที่ยังคงฝีมือสมัยรัชกาลที่ ๑ อยู่จนทุกวันนี้
เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา สมเด็จพระอนุชาธิราช พระบัณฑูรย์น้อยเจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์เป็น พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลไปประทับที่วังหน้า หลังจากวังหน้าว่างอยู่ ๗ ปี นับแต่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมหาสุรสิงหนาทสวรรคต
เมื่อ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จไปประทับวังหน้า พระองค์ก็มิได้สร้างอะไรเพิ่มเติมมากนัก เพียงแต่แก้ไขซ่อมแซมของเก่าบางอย่าง นอกเสียจากบริเวณวังหน้าชั้นนอกด้านทิศเหนือตรงที่ตั้ง "วัดบวรสถานสุทธาวาส" หรือ "วัดพระแก้ว" นี้ เดิมทีมีวัดเก่าอยู่วัดหนึ่งชื่อ "วัดหลวงชี" ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่ทรงพระราชอุทิศให้เป็นบริเวณที่หลวงชีจำศีลภาวนา เพราะเหตุพระมารดาของนักองค์อี ธิดาสมเด็จพระอุไทยราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชาซึ่งเป็นพระสนมเอก ชื่อ นักนางแม้น บวชเป็นรูปชี เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ จึงโปรดให้มาอยู่ในพระราชวังบวรฯกับพวกหลวงชีที่เป็นบริษัทที่ตรงนั้นจึงเลยเรียกกันว่า "วัดหลวงชี"
ต่อ มาเมื่อไม่มีหลวงชีอยู่แล้ว กุฏิต่าง ๆ จึงชำรุดทรุดโทรมเป็นจำนวนมาก จึงโปรดฯ ให้รื้อกุฏิหลวงชีเสียหมดทำเป็นสวนเลี้ยงกระต่าย กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ดำรงพระยศพระมหาอุปราชอยู่ ๘ ปี ก็เสด็จ สวรรคตที่พระที่นั่ง วายุสถานอมเรศร์ ในวังหน้า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๖๐
ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ วังหน้าว่างมาอีก ๗ ปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงสถาปนา กรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์เป็นกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้ทรงปรับปรุงซ่อมแซม สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ขึ้นใหม่หลายอย่าง ที่สำคัญคือทรงซ่อม พระที่นั่งสุทธาสวรรย์แลัวเปลี่ยนนามเรียก "พระที่นั่งพุทไธศวรรย์" มาจนทุกวันนี้
นอกจากนี้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้ทรงสร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส หรือ เรียกว่า "วัดพระแก้ววังหน้า" ในวังให้เหมือนกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระราชวังหลวง โดยทรงอุทิศสวนกระต่ายเดิมสร้างวัดถวายเป็นพุทธบูชา เหตุที่สร้างวัดบวรสถานสุทธาวาส กล่าวกันไว้หลายอย่าง
อย่าง หนึ่งว่าทรงสร้างแก้บนครั้งเสด็จ ยกกองทัพไปปราบขบถที่เวียงจันทร์ หรืออีกอย่างหนึ่งเล่าว่าแต่เดิมทรงสร้างยอดปราสาท จนปรุงตัวไม้แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบมีรับสั่งให้ไปห้ามว่า ในพระราชวังบวรไม่มีธรรมเนียมจะมีปราสาทเป็นเหตุให้กรมพระราชวังบวรมหา ศักดิ์พลเสพย์น้อยพระทัย จึงโปรดฯ ให้แก้ไขเป็นหลัง คาจตุรมุขอย่างที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้
สิ่ง ต่าง ๆ ที่สร้างในวัดพระแก้ววังหน้านี้ สร้างโดยปราณีตบรรจงหลายอย่าง เช่น โปรดฯ ให้เสาะหาพระพุทธรูปที่เป็นของงามของแปลก เครื่องศิลาโบราณมาตกแต่ง พระเจดีย์ก็ถ่ายแบบอย่างพระเจดีย์สำคัญ ๆ เช่น พระธาตุพนม มาสร้างไว้หลายองค์ การสร้างวัดพระแก้ววังหน้ายังไม่ทันแล้วเสร็จกรมพระราชวังบวรศักดิ์พลเสพย์ ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ พระชนม์มายุได้ ๔๗ พรรษา ทำให้วังหน้าว่างอยู่ถึง ๑๘ ปี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดฯ ให้ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจุฑามณีกรมขุนอิศเรสรังสรรค์ เป็นพระมหาอุปราช แต่มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน มีพระนามในพระสุพรรณบัฏแบบเดิมว่า "พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" พระราชทานนามอย่าง พระเจ้า แผ่นดินว่า "สมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิเรสรังสรรค์พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" พระ บาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่วังหน้า ซึ่งขณะนั้นกำลัง ปรักหักพัง ชำรุดทรุดโทรมมากเพราะว่างมา ๑๘ ปี ข้าราชการวังหน้าที่ตามเสด็จ แต่แรกเล่ากันว่า พระองค์ถึงกับทรงออกพระโอษฐ์ว่า
"เออ...อยู่ดี ๆ ให้มาเป็นสมภารวัดร้าง ๆ"
ดัง นั้น วังหน้าจึงได้รับการทะนุบำรุงและสร้างปราสาทราชมณเฑียร ขึ้นใหม่หลายสิ่ง หลายอย่างในรัชกาลนี้โดยเฉพาะพระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถาน สุทธาวาส ได้ทะนุบำรุงปฏิสังขรณ์และมีพระราชดำริจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ โปรดให้ก่อฐานชุกชีขึ้นกลางพระอุโบสถ และเขึยนภาพฝาผนัง เรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์ และเรื่องประวัติ พระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์จนเสร็จ แต่ยังมิทันจะได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระพุทธสิหิงค์จึงคงประดิษฐาน อยู่ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์จนทุกวันนี้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ โปรดฯ ให้กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เป็นพระมหาอุปราชวังบวรสถานมงคล และประทับอยู่ที่วังหน้า ๑๗ ปี ก็เสด็จทิวงคตที่พระที่นั่งบวรปริรัติ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๘
 
ขณะ ที่กรมพระราชวังวิไชยชาญประทับอยู่ที่วังหน้า เป็นเวลาที่พระราชมณเฑียรและสถานที่ต่าง ๆ ยังอยู่ในสภาพดี จึงมิได้สร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมากนัก เมื่อสิ้นกรมพระราชวังวิไชยชาญแล้ววังหน้าก็มิได้เป็นที่ประทับของพระมหา อุปราชอีกเลย เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเป็นมกุฏราชกุมาร อย่างหน่อพระพุทธเจ้าตามราชประเพณีเดิม ทรงเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชฝ่ายหน้าตั้งแต่นั้นมา
ส่วน วังหน้าเมื่อมิได้ ใช้เป็นที่ประทับแล้วได้ทรงใช้เป็นที่ทำประโยชน์ต่าง ๆ เช่น โรงทหาร ม้ารักษาพระองค์บ้างเป็นพิพิธภุณฑสถานบ้าง ทั้งโปรดฯ ให้รื้อป้อมออกและแบ่งที่ พระราชวังบางส่วนเป็นท้องสนามหลวงสืบต่อมาจนทุกวันนี้
สำหรับวัดบวร สถานพุทธาวาส หรือวัดพระแก้ววังหน้านั้นเหลือเพียงพระอุโบสถซึ่งทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ในสมัยที่กระทรวงยุติธรรมตั้งอยู่ในบริเวณโรงละครแห่งชาติปัจจุบัน ได้ใช้พระอุโบสถเป็นที่เก็บสำนวนเรื่องราวฟ้องร้องต่าง ๆ จนกระทั่งย้ายออกไป
ต่อ มาเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระอุโบสถได้รับความเสียหาย จากระเบิดที่ตกใน บริเวณใกล้เคียงชำรุดทรุดโทรมลงไปอีก จนเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ มีการสร้างโรงละครแห่งชาติขึ้น จึงได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้าขึ้นใหม่จนมี สภาพดีดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้
วัด พระแก้ววังหน้าที่เหลืออยู่ในปัจจุบันนี้มีเพียงพระอุโบสถจตุรมุขสูงใหญ่ ตั้งสูงตะหง่านอยู่บนฐานซึ่งมีบันไดขึ้นที่งสี่ด้าน บริเวณฐานมีชานล้อมโดยรอบ ในด้านรูปทรงภายนอกแล้วต้องนับว่าพระอุโบสถหลังนี้มีความงามสง่าแปลกตาไม่ น้อย และเป็นศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๓ ที่สำคัญของวังหน้าที่ทรงสร้างขึ้น
นอกจากรูปทรงภายนอกแล้วภายในพระอุโบสถยังมีศิลปกรรมสำคัญ คือ พระประธานของพระอุโบสถซึ่งเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางห้ามสมุทร พระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดให้สร้างขึ้น สำหรับประดิษฐานในพระอุโบสถนี้ แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็ทรงพระประชวรหนัก เมื่อใกล้จะสวรรคตพระองค์ทรงจบพระหัตถ์ผ้าห่มพระประธาน พระองค์เจ้าดาราวดีไว้ทรงดำรัสสั่งไว้ว่า ต่อไปท่านผู้ใดเป็นใหญ่และได้ทรงบูรณะวัดแห่งนี้ ทูลขอให้ช่วยถวายผ้าผืนนี้ทรงพระให้ด้วย
พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจบผ้าผืนนั้น ทรงพระพุทธรูปถวาย ดังพระราชอุทิศของกรมพระราชวังมหาศักดิพลเสพย์ ปัจจุบันนี้พระพุทธรูปองค์นี้ยังคงอยู่ในสภาพดี มีฐาน ชุกชีและบุษบกครอบ บุษบกนั้นคงเป็นฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๔
นอกเหนือไปจาก พระพุทธรูปภายในพระอุโบสถ คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง ตำนานพระพุทธสิหิงค์ และประวัติพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ซึ่งเป็นฝีมือช่างผสมกัน ระหว่างฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔
นอก จากนี้ยังมีตำนานนิทานไทยโบราณ ประวัติพระคเณศ และ ช้างอุษฏทิศ ภาพจากวรรณคดี เรื่องอุณรุท รามเกียรติ์ นารายณ์สิบปาง ตลอดจนภาพเทพเจ้าและอมนุษย์ของอินเดีย ทั้งที่ปรากฏในมหาภารตคัมภีร์ และคัมภีร์ปุราณะต่าง ๆ นอกจากนี้ก็มีพระราชพิธี โบราณของไทย เช่น พระราชพิธีโสกันต์ และภาพการละเล่นต่าง ๆ ของไทย เช่น กระตั้วแทงควาย แทงวิไสย ไต่ลวด ญวนหก เป็นต้น
อย่างไรก็ตามภาพที่ปรากฏบนฝาผนังเป็น เป็นเรื่องราวต่างๆจำนวนมากนี้ คงเป็น ฝีมือช่างหลายคน เพราะผนังพระอุโบสถนี้กว้างใหญ่มาก มีพื้นที่สำหรับเขียนภาพได้ มากมาย จึงปรากฏเรื่องราวต่าง ๆ ในลักษณะหลายเรื่องหลายรสหลายฝีมือช่าง
มี ทั้งฝีมือดีและด้อย คละเคล้ากันดังที่สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์นิพนธ์ไว้ว่า เป็นภาพจิตรกรรมฝาฝนังงามเยี่ยมแห่งหนึ่งเท่าที่เหลือในปัจจุบัน เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ เป็นแม่กอง จัดช่างฝีมือเข้าเขียน มีฝีมือพระอาจารย์แดงวัดหงส์รัตนารามเขียนภาพชนช้าง ไว้ห้องหนึ่ง อีกห้องหนึ่งเป็นภาพฝีมือนายมั่น คือ ภาพการทิ้งทานลูกกัลปพฤกษ์ จะเห็นได้ว่าวัดพระแก้ววังหน้าหรือวัดบวรสถานสุทธาวาส เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เป็นวัดในพระราชวังหน้าของพระมหาอุปราชมาถึงห้ารัชกาล แม้ปัจจุบันจะ เหลือเพียงพระอุโบสถเท่านั้น แต่คุณค่าของศิลปกรรมนับได้ว่า มีค่าควรแก่การ ศึกษาหาความรู้อย่างยิ่ง
เมื่อ เราไปนั่น พระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้าถูกปิดไว้ และไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ควรจะเป็น เพราะเราสามารถมองเห็นได้ถึง บรรดาอุปกรณ์เข้าฉากต่าง ๆ ที่ตั้งระเกะระกะ พาดและพิงอยู่กับพระอุโบสถเป็นจำนวนมาก เศษซากของต้นไม้ ดอกไม้ ที่แห้งกรังอยู่ตามพื้น หรือแม้กระทั้ง การชำรุดทรุดโทรมของพระอุโบสถเอง อันจะเห็นได้จากความชำรุดหักพังของลายปูนปั้น และการหลุดล่วงของกระจกประดับ
น่า เสียดาย หากโบราณสถานสำคัญของไทย โดยเฉพาะโบราณสถานสำคัญในยุคต้นรัตนโกสินทร์ จะถูกทิ้งร้าง หักพังอยู่กลางเมือง โดยไม่เห็นถึงความสำคัญเช่นนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เรืองราวของกรมพระราชวังหน้า และวัดพระแก้ววังหรือ หรือวัดบวรสถานสุทธาวาส จะยังคงอยู่ให้ลูกหลานได้ศึกษา ถึงความเป็นมาและรูปแบบสถาปัตย์กรรมตอนต้นกรุงรัตนโกสสินทร์ ได้อีกยาวนานและได้รับการทำนุบำรุงรักษาให้คงอยู่อีกนานตลอดไป ไม่กลายเป็นวัดร้างไร้นามกลางกรุงที่ถูกลืมไปเสียก่อน

***ที่มา/เครดิต...สายลมที่ผ่านมา จากบล็อค oknation.net ขอขอบคุณในข้อเขียนมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง เนื้อผง

หลวงพ่อเงินบางคลานเนื้อผง พิมพ์ช่างหลวง
     หลวงพ่อเงินในวัยเยาว์ท่านอาศัยอยู่ที่พระนคร และเคยบวชเป็นสามเณรจำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม กรุุงเทพฯ (ชื่อเดิมวัดตองปุ) ภายหลังเมื่อบวชเป็นพระก็ได้จำพรรษาอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาจึงได้ขึ้นไปอยู่ที่จังหวะพิจิตร ท่านมีสายสัมพันธ์กับกรมพระราชวังหน้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) และกับสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ในฐานะศิษย์อาจารย์ การสร้างรูปเคารพของท่านในส่วนของกลุ่มเจ้านายและเชื้อพระวงศ์ ที่เป็นเนื้อผงนอกจากมวลสารในส่วนของหลวงพ่อแล้ว ยังมีมวลสารผงวิเศษบางส่วนที่มาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)ด้วยเช่นกัน



 


     พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง เป็นมรดกตกทอดจาก กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญผู้ดำริจัดสร้าง มายังทายาทคือกรมหมื่นชาญชัยบวรยศ มีบางส่วนที่มอบให้แก่คนที่รู้จักมักคุ้น ลูกหลานได้รับมาจึงปรากฏแก่สามัญชน โดยการสืบทราบมาว่าในยุคสมัยของกรมหมื่นชาญชัยบวรยศท่านชอบพอและได้เสด็จไปมาหาสู่กับคหบดีที่จังหวัดฉะเชิงเทรา(เจ้าสัวชื่น) อยู่บ่อยๆ คงจะได้มอบวัตถุมงคลที่พระบิดาจัดสร้างแก่เจ้าสัวชื่นเพื่อแจกให้กับลูกหลานอยู่ไม่น้อย จนตกทอดมาถึงรุ่นลูกหลานจึงปรากฏและเผยแพร่สู่สายตาของบุคคลทั่วไปผ่านงานเขียนของท่านผู้ใช้นามปากกาว่า...มัตตัญญู.
      การดำริจัดสร้างเป็นการส่วนพระองค์ของกรมพระราชวังหน้าเพื่อมอบให้เชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพาร โดยกราบขออนุญาตจากครูอาจารย์ที่เคารพคือสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)และหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ ได้มอบหมายให้ช่างหลวงเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ จากหลักฐานทางวัตถุที่จารึกไว้บนองค์พระ พิมพ์หลวงพ่อ่เงินเนื้อผงนี้แกะแม่พิมพ์โดยกรมหมื่นอดุลยลักษณะสมบัติผู้กำกับกรมแสงและกรมช่างศิลา
     เนื้อผงมวลสาร เป็นผงมวลสารกฤตยาคมของหลวงพ่อเงินและผงมวลสารกฤตยาคมของหลวงพ่อเงินและของสมเด็จโต ทั้งผสมมวลสารมงคลอื่น และวัตถุธาตุกายสิทธิ์ที่เข้มขลังคือเพชรดำ เป็นการผนวกพลังอิทธิคุณอย่างยิ่งยวด
     ด้านหลังหลังพระจะเป็นลักษณะที่เป็นทัศนะความนิยมในกรมพระราชวังหน้าที่มีอาจมีรูปเคารพของครูบาอาจารย์ หรือผนึกพระโบราณ วัตถุธาตุศักดิ์สิทธิ์ สิ่งมีค่าลงไป ลักษณะเช่นนี้มีให้เห็นดังเดียวกันกับพระสมเด็จวังหน้าที่จัดสร้างโดยท่านเฉกเช่นเดียวกัน
     หลวงพ่อเงินพิมพ์ช่างหลวงนี้ ช่วงเวลาในการปลุกเสกหาก สัณนิษฐานว่าน่าจะเป็นช่วงที่หลวงพ่อเงินท่านมาร่วมในพิธีที่ร.๕ เสด็จขึ้นครองราชย์พ.ศ.๒๔๑๑ และไม่น่าจะเกินปีพ.ศ.๒๔๑๓  ซึ่งในช่วงเวลานั้นกรมหมื่นอดุลยลักษณะสมบัติช่างหลวงผู้แกะแม่พิมพ์ก็ชราภาพแล้ว(สิ้นพระชนม์พ.ศ.๒๔๑๖)
     ในความสัมพันธ์ของหลวงพ่อเงินกับกรมวังหน้า มีประวัติความเป็นมาว่าหลวงพ่อเงินท่านได้พำนักที่วัดตองปุ(วัดชนะสงคราม ปัจจุบัน)ตั้งแต่บวชเป็นสามเณรและขณะเป็นพระภิกษุอีกช่วงหนึ่ง   ในช่วงที่หลวงพ่ออยู่ที่พระนคร หลวงพ่อท่านก็มีผู้คนนับถือมากมาย ฌานบารมีแก่กล้า ชื่อเสียงเกียรติคุณระบือไกล อย่างหนึ่งวัดก็อยู่ไม่ห่างจากพระราชวังหน้านักคงได้มีการพบปะศึกษาปฏิบัติธรรมกันระหว่างหลวงพ่อเงินกับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ (กรมพระราชวังหน้าพระองค์ท่านก็เป็นนักปฏิบัติด้วยเช่นกัน)



ด้านหลังผนึกรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง(พิมพ์เล็ก)


หลวงพ่อเงินบางคลาน พิมพ์กลางช่างหลวง ทรงสันทัด

ด้านหลังผนึกพระผงสุพรรณ

อ้างอิงข้อมูล: หนังสือพระสมเด็จวังหน้า และ หลวงพ่อเงินฯ พิมพ์ช่างหลวง โดย มัตตัญญู