วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง เนื้อผง

หลวงพ่อเงินบางคลานเนื้อผง พิมพ์ช่างหลวง
     หลวงพ่อเงินในวัยเยาว์ท่านอาศัยอยู่ที่พระนคร และเคยบวชเป็นสามเณรจำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม กรุุงเทพฯ (ชื่อเดิมวัดตองปุ) ภายหลังเมื่อบวชเป็นพระก็ได้จำพรรษาอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาจึงได้ขึ้นไปอยู่ที่จังหวะพิจิตร ท่านมีสายสัมพันธ์กับกรมพระราชวังหน้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) และกับสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) วัดระฆัง ในฐานะศิษย์อาจารย์ การสร้างรูปเคารพของท่านในส่วนของกลุ่มเจ้านายและเชื้อพระวงศ์ ที่เป็นเนื้อผงนอกจากมวลสารในส่วนของหลวงพ่อแล้ว ยังมีมวลสารผงวิเศษบางส่วนที่มาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)ด้วยเช่นกัน



 


     พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง เป็นมรดกตกทอดจาก กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญผู้ดำริจัดสร้าง มายังทายาทคือกรมหมื่นชาญชัยบวรยศ มีบางส่วนที่มอบให้แก่คนที่รู้จักมักคุ้น ลูกหลานได้รับมาจึงปรากฏแก่สามัญชน โดยการสืบทราบมาว่าในยุคสมัยของกรมหมื่นชาญชัยบวรยศท่านชอบพอและได้เสด็จไปมาหาสู่กับคหบดีที่จังหวัดฉะเชิงเทรา(เจ้าสัวชื่น) อยู่บ่อยๆ คงจะได้มอบวัตถุมงคลที่พระบิดาจัดสร้างแก่เจ้าสัวชื่นเพื่อแจกให้กับลูกหลานอยู่ไม่น้อย จนตกทอดมาถึงรุ่นลูกหลานจึงปรากฏและเผยแพร่สู่สายตาของบุคคลทั่วไปผ่านงานเขียนของท่านผู้ใช้นามปากกาว่า...มัตตัญญู.
      การดำริจัดสร้างเป็นการส่วนพระองค์ของกรมพระราชวังหน้าเพื่อมอบให้เชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพาร โดยกราบขออนุญาตจากครูอาจารย์ที่เคารพคือสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)และหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ ได้มอบหมายให้ช่างหลวงเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ จากหลักฐานทางวัตถุที่จารึกไว้บนองค์พระ พิมพ์หลวงพ่อ่เงินเนื้อผงนี้แกะแม่พิมพ์โดยกรมหมื่นอดุลยลักษณะสมบัติผู้กำกับกรมแสงและกรมช่างศิลา
     เนื้อผงมวลสาร เป็นผงมวลสารกฤตยาคมของหลวงพ่อเงินและผงมวลสารกฤตยาคมของหลวงพ่อเงินและของสมเด็จโต ทั้งผสมมวลสารมงคลอื่น และวัตถุธาตุกายสิทธิ์ที่เข้มขลังคือเพชรดำ เป็นการผนวกพลังอิทธิคุณอย่างยิ่งยวด
     ด้านหลังหลังพระจะเป็นลักษณะที่เป็นทัศนะความนิยมในกรมพระราชวังหน้าที่มีอาจมีรูปเคารพของครูบาอาจารย์ หรือผนึกพระโบราณ วัตถุธาตุศักดิ์สิทธิ์ สิ่งมีค่าลงไป ลักษณะเช่นนี้มีให้เห็นดังเดียวกันกับพระสมเด็จวังหน้าที่จัดสร้างโดยท่านเฉกเช่นเดียวกัน
     หลวงพ่อเงินพิมพ์ช่างหลวงนี้ ช่วงเวลาในการปลุกเสกหาก สัณนิษฐานว่าน่าจะเป็นช่วงที่หลวงพ่อเงินท่านมาร่วมในพิธีที่ร.๕ เสด็จขึ้นครองราชย์พ.ศ.๒๔๑๑ และไม่น่าจะเกินปีพ.ศ.๒๔๑๓  ซึ่งในช่วงเวลานั้นกรมหมื่นอดุลยลักษณะสมบัติช่างหลวงผู้แกะแม่พิมพ์ก็ชราภาพแล้ว(สิ้นพระชนม์พ.ศ.๒๔๑๖)
     ในความสัมพันธ์ของหลวงพ่อเงินกับกรมวังหน้า มีประวัติความเป็นมาว่าหลวงพ่อเงินท่านได้พำนักที่วัดตองปุ(วัดชนะสงคราม ปัจจุบัน)ตั้งแต่บวชเป็นสามเณรและขณะเป็นพระภิกษุอีกช่วงหนึ่ง   ในช่วงที่หลวงพ่ออยู่ที่พระนคร หลวงพ่อท่านก็มีผู้คนนับถือมากมาย ฌานบารมีแก่กล้า ชื่อเสียงเกียรติคุณระบือไกล อย่างหนึ่งวัดก็อยู่ไม่ห่างจากพระราชวังหน้านักคงได้มีการพบปะศึกษาปฏิบัติธรรมกันระหว่างหลวงพ่อเงินกับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ (กรมพระราชวังหน้าพระองค์ท่านก็เป็นนักปฏิบัติด้วยเช่นกัน)



ด้านหลังผนึกรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง(พิมพ์เล็ก)


หลวงพ่อเงินบางคลาน พิมพ์กลางช่างหลวง ทรงสันทัด

ด้านหลังผนึกพระผงสุพรรณ

อ้างอิงข้อมูล: หนังสือพระสมเด็จวังหน้า และ หลวงพ่อเงินฯ พิมพ์ช่างหลวง โดย มัตตัญญู